3 โรคร้ายที่ปลาเป็นกัน

หยุดปัญหาที่ทำให้ปลาเป็นโรค เลี้ยงปลาไม่เคยรอดเลยปัญหารุมเร้า นอนเศร้าอยู่หลายวัน ไม่รู้จะแก้ยังไงมาดู 3 โรคร้ายที่ปลาเป็นกัน โรคครีบและหางเปื่อย โรคเกล็ดหลุด โรคตกเลือด มีจ้ำเลือดตามลำตัวสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อของแบคเรีย เชื้อรา และปรสิต นี้คือตัวร้ายที่ทำให้น้องปลาป่วยเป็นโรค และร้ายแรงถึงตายหากไม่รีบแก้ไขแอดมีตัวช่วยดีๆ มาบอก ถึงเราไม่ใช่หมอปลาแต่เราก็มียาให้เธอนะจ๊ะสำหรับรักษาร๊อตสต๊อป (Rot Stop) ผลิตภัณฑ์ใช้ควบคุมปรสิตภายนอก และป้องกันอาการที่เกิดจากเชื้อรา และอาการเน่าเปื่อย เหงือกเน่า ในปลาสวยงามได้เป็นอย่างดีวิธีใช้:ขนาด 25 ซีซี : 1 หยดต่อน้ำ 2 ลิตรขนาด…

Continue Reading3 โรคร้ายที่ปลาเป็นกัน

ไฟรโบรมา ในปลาทอง

อาการไฟโบรม่า ในปลาทองเกิดได้จากหลายสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น สภาพแวดล้อมหรือคุณภาพน้ำที่ไม่เหมาะสม เชื้อไวรัส หรือพยาธิภายนอกกลุ่ม copepod ที่ฝังตัวอยู่ในชั้นผิวหนัง แต่อาจขึ้นอยู่กับ อายุ เพศ ด้วย.สาเหตุการตายมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน.การรักษาการตัดก้อนเนื้องอก เป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุดและช่วยรักษาคุณภาพน้ำ หลังการทำแผลแต่ก็อย่างเพิ่งนิ่งนอนใจไป เพราะอาการเหล่านี้สามารถกลับมาเป็นได้อีก

Continue Readingไฟรโบรมา ในปลาทอง

เห็บระฆัง

ภัยเงียบที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า #เห็บระฆังเห็บระฆัง (Trichodina spp.) มีลักษณะรูปร่างคล้ายระฆัง โดยมีการเคลื่อนไหวจะเป็นไปในลักษณะแฉลบๆ พร้อมทั้งกลับตัวไปพร้อมกันด้วย ขอบด้านล่างมีวงแหวน เรียกว่า Denticulate Ring ประกอบด้วยฟันเล็กๆและหนาม (Hook) การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศลักษณะอาการTrichodina จัดเป็นปรสิตภายนอก เกาะอยู่บริเวณเหงือก ผิวหนัง ครีบของปลา ปลาที่มีเห็บระฆังเกาะจะเห็นเป็นลักษณะแผ่นสีขาวขึ้นตามตัว ปลาเกิดการระคายเคือง และยังสามารถทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อบริเวณที่เกาะ เนื่องจากตะขอที่ใช้ในการฝังเกาะกับตัวปลาจะทำให้เกิดบาดแผล ผิวหนังเป็นปมมีเมือก เกล็ดหลุด ครีบเปื่อยและตายในที่สุด ถ้าเกาะที่เหงือกจะทำให้เกิดการบวม เห็บระฆังจะกินเมือก และเซลล์ผิวหนังเป็นอาหารต่อไปสังเกตอาการปลาจะว่ายน้ำโดยเอาลำตัวถูหรือสีกับตู้ไม่ค่อยกินอาหารว่ายน้ำกระวนกระวายพลิกตัวไปมาแสดงว่าปรสิตภายนอกเริ่มคุกคามอย่างเงียบๆ โดยที่เราไม่ทันสังเกต

Continue Readingเห็บระฆัง

ทำไม เกล็ดพอง

โรคเกล็ดพอง ปัญหาทุกข์ใจของคนเลี้ยงปลาสวยงามสุดทน  กับโรคเกล็ดพองที่พบได้เสมอในปลาสวยงามทั้งๆที่คุณก็ค่อยเปลี่ยนถ่ายน้ำ ดูแลอย่างดีแต่อาการไม่ดีขึ้นเลย ทำให้ปลาของคุณป่วยด้วยโรคเกล็ดพองเสมอๆ มาทำความเข้าใจ รู้สาเหตุ เเละเเนวทางวิธีป้องกันและรักษา!!สาเหตุของโรคเชื้อที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าวคือ เชื้อแบคทีเรีย และโปรโตรซัวบางชนิด เช่น Aeromonashydrophila และ Glossatella sp. มักจะเกิดจากความเครียดและสิ่งเเวดล้อมที่ทำให้ปลามีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำไม่ได้มีได้เเต่ปลาทองเท่านั้นที่ถูกเชื้อนี้โจมตี แม้เเต่ปลามังกร ปลาคาร์ฟ ปลาหมอสี ปลากัด ปลาเเม่น้ำ ปลาสวยงามต่างๆ ก็มีโอกาสโดนเชื้อร้ายนี้เข้าทำลายปลาได้ เพราะมันมีอยู่เเล้วในน้ำอาการเกล็ดตามตัวของปลาจะตั้งอ้าออก ลำตัวจะบวมพอง ตามฐานของซอกเกล็ดจะมีลักษณะตกเลือด ส่วนมากจะไม่ยอมกินอาหารและจะลอยตัวขึ้นมาบนผิวน้ำแล้วก็ตายไปในที่สุดวิธีป้องกันและรักษาควบคุมอาหารประเภทโปรตีนให้ลดน้อยลงควรดูแลสภาพน้ำและสภาพแวดล้อมภายในตู้ให้สะอาด เปลี่ยนถ่ายน้ำตามกำหนดเวลาเสมอควบคุมอุณหภูมิของน้ำในตู้และน้ำที่นำมาเปลี่ยนให้คงที่ ประมาณ 30-31…

Continue Readingทำไม เกล็ดพอง

โรคตกเลือด

โรคตกเลือด พิษร้ายทำลายปลา ปลาช้ำเลือดหรือตกเลือดเป็นของคู่กันกับคนที่เลี้ยงปลา ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับปลาทุกสายพันธุ์สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการตกเลือดหรือช้ำเลือดคือเกิดจากปรสิตคือ Epitylis sp.อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงในน้ำมีสารเคมีมากเกินไปจะส่งผลให้เชื้อโรคเริ่มทำลายกำแพงชั้นนอกสุดคือ "เมือกปลา" (เวลาเกิดความผิดปกติในร่างกายของปลา ปลาจะขับเมือกออกมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความผิดปกติเพื่อป้องกันตัวเองพร้อมขับสารพิษที่อยู่ในร่างกายออกมา)การตกเลือดแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม1.การตกเลือดแบบทั่วไปปลาตอบสนองต่อการผิดปกติของอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง สารเคมี เชื้อโรคในน้ำ หรือคุณภาพน้ำที่เริ่มเสีย(สาเหตุจากแอมโมเนีย หรือเชื้อโรคเพิ่มมากขึ้น)วิธีการแก้ปัญหาช่วยปลาโดยการแยกแช่เกลือ เพราะเกลือมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค และจะทำให้อาการอักเสบทุเลาบรรเทาลงได้ ปลาส่วนใหญ่ที่ตกเลือด แช่เกลือ 1-2 วัน ก็หายเป็นปกติไม่จำเป็นต้องงดอาหาร พยายามเปลี่ยนถ่ายน้ำให้บ่อย ๆ รักษาคุณภาพของน้ำให้ดี เพราะบริเวณตรงที่ปลาตกเลือดนั้นจะไวต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ เป็นอย่างมาก2.การตกเลือดแบบติดเชื้อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายของปลาทางชั้น Epidermis เกิดการติดเชื้อต่อไปเรื่อย…

Continue Readingโรคตกเลือด

วัณโรคปลา

วัณโรคปลา Mycobacteriosisสาเหตุ :เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสกุล Mycobacterium เชื้อ M. marinum จะเจริญที่อุณหภูมิ 25-35 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ ถ้าเลี้ยงเชื้อในที่มืดเชื้อจะมีแสงสว่างโคโลนีสีเหลืองโรคนี้พบได้ในปลาเกือบทุกชนิดในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ซึ่งในไทยพบบ่อยที่สุด ซึ่งสามารถเกิดได้กับปลาหลายชนิดเช่น ปลากัด ปลาช่อน ปลาเทวดา ปลาออสก้า ปลากระดี่ไฟ ปลาปอมปาดัว ปลาคาร์ปลักษณะอาการปลาว่ายน้ำเชื่องช้า ผอมแห้ง ไม่กินอาหารท้องบวมน้ำ มีแผลตื้นๆตามลำตัวเกล็ดหลุด ครีบกร่อน ตาโปน ตาบอดข้างหนึ่งหรือสองข้างสีของปลาเข้มหรือจางผิดปกติรูปร่างผิดปกติหรือคดงออวัยวะภายใน เช่น…

Continue Readingวัณโรคปลา

โรคเสียการทรงตัว

โรคเสียการทรงตัว (Swim Bladder Disease)อาการ : ปลาจะว่ายน้ำควงตีลังกา ตกเลือดตามตัวและซอกเกล็ด จะเกิดกับปลาตั้งแต่วัยอ่อนถึงตัวเต็มวัย ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของถุงลมระบบแลกเปลี่ยนก๊าซผิดปกติสาเหตุปลาฮุบอากาศมากเกินไปในขณะที่กินอาหาร เป็นสาเหตุให้เกิดการสะสมอากาศในทางเดินอาหารมากเกินไปจนเบียดถุงลมอาหารที่มีเยื่อใยคุณภาพต่ำ ส่งผลให้เกิดภาวะท้องผูกการให้อาหารมากเกินไป ส่งผลให้มีการสะสมไขมันที่ตับ ตับจึงมีขนาดที่โตขึ้นอวัยวะภายในมีการขยายขนาด หรือมีเนื้องอกภายในร่างกาย ส่งผลให้เกิดการเบียดทับถุงลมการติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis)การรักษา : ไม่พบวิธีการรักษาที่ได้ผล ส่วนมากถ้าพบปลาป่วยจะนำปลาไปเลี้ยงในที่แคบๆ เพิ่มอุณหภูมิและความเค็มในน้ำครับ

Continue Readingโรคเสียการทรงตัว

ระวัง!! ปรสิตที่มากับน้ำ

☔️หลังจากที่กรมอุตุฯ ประกาศเตือนเข้าหน้าฝน☔️ระวัง!! ปรสิตที่มากับหน้าฝนมักจะเกิดปัญหาปลาตายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากปรสิตที่อยู่ในน้ำ ได้แก่ เห็บระฆัง หรือ ปลิงใส แพร่กระจายเพิ่มมากขึ้นในช่วงฤดูฝน เกาะตามบริเวณซอกเกล็ดของตัวปลาและเข้าสู่อวัยวะสำคัญของปลา ทำให้ปลาเกิดโรคตายเป็นจำนวนมากเห็บระฆังเห็บระฆังเป็นปรสิตเซลล์เดียวรูปร่างคล้ายระฆังทรงเตี้ยหรือฉิ่ง มีแผ่นคล้ายใบมีดจำนวนมากอยู่กลางเซลล์ใช้ในการเกาะผิวตัวและเหงือกปลาอาการของปลาเป็นแผลขนาดเล็กตามลำตัวและเหงือก มักจะพบในลูกปลาปลิงใสปลิงใสเป็นปรสิตกลุ่มหนอนพยาธิที่มีหลายขนาด ส่วนใหญ่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าปลาที่ถูกปลิงใสเกาะจะมีอาการว่ายน้ำทุรนทุราย ลอยตัวตามผิวน้ำ แยกตัวจากฝูง ซึม ผอม กระพุ้งแก้ม เปิด-ปิดเร็วกว่าปกติ และมีแผลเล็กๆตามลำตัว หากติดขั้นรุนแรงปลาอาจจะตายได้

Continue Readingระวัง!! ปรสิตที่มากับน้ำ

โรคเชื้อรา

🦠เชื้อราทำพิษ!!! ส่งผลต่อชีวิตน้องปลา🐠🦠คงไม่มีใครอยากให้ปลาทองที่เราเลี้ยงเป็นโรคเชื้อรา 🐠🦠โรคเชื้อรา จะทำให้ปลาที่เลี้ยงตัวเปื่อย เหงือกเน่า ปลาจะมีอาการเซื่องซึม ไม่ค่อยกินอาหาร ตามตัวจะมีขุยคล้ายสำลีเกาะ หากเป็นมากๆ อาจทำให้ปลาเสียชีวิตได้ภายใน 5-7 วันวีธีการป้องกันและรักษา💉ตรวจเช็คคุณภาพน้ำและเปลี่ยนถ่ายน้ำทุก 3-5วันดูดตะกอนและเศษอาหารเหลือป้องกันการสะสมของเชื้อราขณะจับปลาหรือลำเลียงปลาต้องทำด้วยความระมัดระวัง หากเกิดบาดแผลอาจทำให้เกิดการขยายตัวของเชื้อรา

Continue Readingโรคเชื้อรา

โรคจุดขาว

🐳 ปลาอ่อนแอเมื่อใด อิ๊คตัวร้ายจะกลับมา 🐳เมื่อสภาพอากาศเปลี่ยน ปลาจะอ่อนแอลง ทำให้เชื้อโรคร้ายเล่นงานปลาที่เราเลี้ยงได้ง่ายยิ่งขึ้นโรคจุดขาวเกิดจากเชื้อโรคที่มีชื่อว่า Ichthyophthirius Multifiliis (Ich หรือ อิ๊ค) ซึ่งอาการโรคนี้สามารถสังเกตได้ง่ายๆโดยปลาที่เป็นโรคจะมีจุดขาวๆ ซึ่งมีขนาดประมาณ 0.5-1.0 มิลลิเมตร ขึ้นอยู่บริเวณตามครีปและลำตัว โดยอาการเริ่มแรกปลาจะซึมลงและแถวบริเวณครีปและหางจะหุบอยู่ตลอดเวลา ลักษณะการว่ายน้ำจะมีอาการแกว่งไปมาและพยายามถูลำตัวกับพื้นตู้ เพื่อให้จุดขาวนั้นหลุดหายไป ต่อมาปลาจะไม่กินอาหาร ปลาบางชนิดจะลอยคอขึ้นมาบริเวณผิวน้ำซึ่งอาการจะมากจะน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและความแข็งแรงของปลาแต่ละตัว💉วิธีการรักษา💉ทำการแยกปลาที่ป่วยออก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อรักษาความสะอาดของบ่อหรือตู้ที่เลี้ยง โดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำและดูดตะกอนบริเวณพื้นบ่อหรือตู้ออกทุกวันโดยเปลี่ยนน้ำไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ของบ่อหรือตู้เพิ่มอุณหภูมิของน้ำ โดยการใช้ฮีตเตอร์ ควรตั้งไว้ที่อุณหภูมิ 30-32 องศาเซลเซียส

Continue Readingโรคจุดขาว